เพราะความดิบเท่ ไม่ต้องปรุงแต่งมากมาย ทำให้บ้านสไตล์ลอฟท์เป็นที่นิยมมาอย่างยาวนาน เริ่มตั้งแต่จุดกำเนิดในสหรัฐอเมริกาที่ยุคหนึ่งเกิดความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ โรงงานอุตสาหกรรมปิดตัวและถูกทิ้งร้าง นักพัฒนาที่ดินจึงเกิดไอเดียเปลี่ยนโรงงานเหล่านั้นให้เป็นหอพักราคาถูกสำหรับนักศึกษาที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อเฟอร์นิเจอร์มาตกแต่งมากมาย แต่ใช้ความดิบของวัสดุในแบบโรงงานอุตสาหกรรมเป็นตัวชี้นำให้เกิดสไตล์เฉพาะในแบบที่เรียกว่า ลอฟท์ ซึ่งในเมืองไทยการแต่งบ้านสไตล์นี้เริ่มได้รับความนิยมในช่วงปี ค.ศ. 2000 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
บ้านสร้างใหม่หรือบ้านที่อยู่มานานก็สามารถเปลี่ยนให้ดูเท่ได้ โดยเลือกแต่งเติมในบางจุด อย่างเช่นการโชว์โครงสร้างหลังคา เปิดเปลือยฝ้าเพดาน โชว์งานระบบไฟฟ้าให้เห็นเส้นสายของท่อร้อยสายไฟก็เป็นอีกหนึ่งการตกแต่ง การเลือกพร็อพหรือของตกแต่งอื่น ๆ ที่ทำมาจากโลหะที่สื่อถึงยุคอุตสาหกรรม และส่วนสำคัญอีกหนึ่งจุดที่ขาดไม่ได้คือ สร้างผนังปูนเปลือยให้บ้านดูดิบเท่
ผนังปูนเปลือย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของสไตล์ลอฟท์ ที่ดูดิบด้านในแบบโรงงานอุตสาหกรรมแต่มีเสน่ห์ในแบบเฉพาะตน ซึ่งการสร้างผนังปูนเปลือยมีเทคนิคหลายรูปแบบมาก แต่ละรูปแบบก็ให้ความสวยงามแตกต่างกัน รวมถึงข้อดีข้อด้อยของผนังปูนเปลือยแต่ละแบบ ที่นิยมทั่วไปมีดังนี้
– ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นอีกหนึ่งผนังปูนเปลือยที่ขึ้นรูปด้วยการหล่อในที่ (คือการหล่อคอนกรีตลงในบล็อกที่ทำขึ้นในหน้างานก่อสร้าง เมื่อแกะบล็อกจะทิ้งรอยต่อคอนกรีตไว้) จึงมีความแข็งแรง มีน้ำหนักมาก ราคาสูง ไม่เหมาะกับอาคารเก่าที่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำหนัก
– ผนังคัลเลอร์ซีเมนต์ เป็นซีเมนต์สำเร็จรูปที่ต้องนำมาผสมกับน้ำที่หน้างานก่อสร้าง ทำให้มีกลิ่นฉุน เกิดฝุ่นละออง โดยสีคัลเลอร์ซีเมนต์จะแห้งช้า อีกทั้งการฉาบต้องอาศัยความชำนาญเพื่อให้เกิดจังหวะแปรงฉาบที่สวยงามพอดี
– ผนังทาสีน้ำอะคริลิก เป็นนวัตกรรมสีที่สามารถสร้างสรรค์ผนังสไตล์ลอฟต์ได้ด้วยขั้นตอนที่ง่าย รวดเร็ว ไม่กระทบต่อโครงสร้าง ใช้ได้ทั้งผนังเก่าและผนังใหม่ และทาทับได้หลากหลายพื้นผิว ทั้งไม้ ปูน กระเบื้อง ซึ่งตอบโจทย์บ้านที่ต้องการรีโนเวทได้เป็นอย่างดี ด้วยขั้นตอนการสร้างลวดลายที่ง่ายและรวดเร็ว ดังนี้
1. ขั้นตอนการเตรียมผนัง หากเป็นผนังเก่าให้สำรวจสภาพผนังว่ามีรอยแตกลายงา สีลอกหลุดล่อน หรือมีคราบเชื้อราตะไคร่น้ำหรือไม่ หากมีให้ทำการซ่อมแซมก่อน ส่วนผนังใหม่ให้ตรวจสอบความชื้นของผนังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ก่อนลงมือทาสี
2. เลือกผลิตภัณฑ์สีน้ำอะคริลิก Nippon Paint Momento Loft สีสำหรับสร้างผนังลอฟท์ ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน มีคุณสมบัติสามารถเช็ดล้างทำความสะอาดได้ง่าย ยึดเกาะผนังได้ดี สามารถทาทับผนังสีเดิมได้ ไม่เป็นฝุ่นผง ปราศจากสารปรอทและสารตะกั่ว สารระเหยต่ำ กลิ่นอ่อน มีสีสันให้เลือกหลายเฉด ทั้ง Soft Gray, Street Gray, Shadow Gray จบงานได้ไวแต่ได้ผนังที่สวยเนียน และยังสามารถใช้งานได้หลากหลายพื้นผิว ไม่ว่าจะเป็นปูน ไม้ กระเบื้อง เป็นต้น
3. ขั้นตอนต่อมาให้ทาสีรองพื้น Nippon Paint Momento Loft Primer จำนวน 1 เที่ยว รอให้แห้งประมาณ 2 ชั่วโมง
เพราะความดิบเท่ ไม่ต้องปรุงแต่งมากมาย ทำให้บ้านสไตล์ลอฟท์เป็นที่นิยมมาอย่างยาวนาน เริ่มตั้งแต่จุดกำเนิดในสหรัฐอเมริกาที่ยุคหนึ่งเกิดความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ โรงงานอุตสาหกรรมปิดตัวและถูกทิ้งร้าง นักพัฒนาที่ดินจึงเกิดไอเดียเปลี่ยนโรงงานเหล่านั้นให้เป็นหอพักราคาถูกสำหรับนักศึกษาที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อเฟอร์นิเจอร์มาตกแต่งมากมาย แต่ใช้ความดิบของวัสดุในแบบโรงงานอุตสาหกรรมเป็นตัวชี้นำให้เกิดสไตล์เฉพาะในแบบที่เรียกว่า ลอฟท์ ซึ่งในเมืองไทยการแต่งบ้านสไตล์นี้เริ่มได้รับความนิยมในช่วงปี ค.ศ. 2000 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
บ้านสร้างใหม่หรือบ้านที่อยู่มานานก็สามารถเปลี่ยนให้ดูเท่ได้ โดยเลือกแต่งเติมในบางจุด อย่างเช่นการโชว์โครงสร้างหลังคา เปิดเปลือยฝ้าเพดาน โชว์งานระบบไฟฟ้าให้เห็นเส้นสายของท่อร้อยสายไฟก็เป็นอีกหนึ่งการตกแต่ง การเลือกพร็อพหรือของตกแต่งอื่น ๆ ที่ทำมาจากโลหะที่สื่อถึงยุคอุตสาหกรรม และส่วนสำคัญอีกหนึ่งจุดที่ขาดไม่ได้คือ สร้างผนังปูนเปลือยให้บ้านดูดิบเท่
ผนังปูนเปลือย เป็นเอกลักษณ์สำคัญของสไตล์ลอฟท์ ที่ดูดิบด้านในแบบโรงงานอุตสาหกรรมแต่มีเสน่ห์ในแบบเฉพาะตน ซึ่งการสร้างผนังปูนเปลือยมีเทคนิคหลายรูปแบบมาก แต่ละรูปแบบก็ให้ความสวยงามแตกต่างกัน รวมถึงข้อดีข้อด้อยของผนังปูนเปลือยแต่ละแบบ ที่นิยมทั่วไปมีดังนี้
– ผนังปูนเปลือยขัดมัน คือผนังปูนเปลือยที่ผ่านขั้นตอนการฉาบเรียบแล้วโรยผงปูนซีเมนต์ พรมน้ำแล้วใช้เกรียงขัดวนให้เกิดความมันวาว ทำให้เกิดลวดลายฉาบปูนที่ดูเป็นธรรมชาติ เหมาะสำหรับอาคารสร้างใหม่และต้องอาศัยช่างที่มีความชำนาญในงานฉาบด้วย
– ผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นอีกหนึ่งผนังปูนเปลือยที่ขึ้นรูปด้วยการหล่อในที่ (คือการหล่อคอนกรีตลงในบล็อกที่ทำขึ้นในหน้างานก่อสร้าง เมื่อแกะบล็อกจะทิ้งรอยต่อคอนกรีตไว้) จึงมีความแข็งแรง มีน้ำหนักมาก ราคาสูง ไม่เหมาะกับอาคารเก่าที่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำหนัก
– ผนังคัลเลอร์ซีเมนต์ เป็นซีเมนต์สำเร็จรูปที่ต้องนำมาผสมกับน้ำที่หน้างานก่อสร้าง ทำให้มีกลิ่นฉุน เกิดฝุ่นละออง โดยสีคัลเลอร์ซีเมนต์จะแห้งช้า อีกทั้งการฉาบต้องอาศัยความชำนาญเพื่อให้เกิดจังหวะแปรงฉาบที่สวยงามพอดี
– ผนังทาสีน้ำอะคริลิก เป็นนวัตกรรมสีที่สามารถสร้างสรรค์ผนังสไตล์ลอฟต์ได้ด้วยขั้นตอนที่ง่าย รวดเร็ว ไม่กระทบต่อโครงสร้าง ใช้ได้ทั้งผนังเก่าและผนังใหม่ และทาทับได้หลากหลายพื้นผิว ทั้งไม้ ปูน กระเบื้อง ซึ่งตอบโจทย์บ้านที่ต้องการรีโนเวทได้เป็นอย่างดี ด้วยขั้นตอนการสร้างลวดลายที่ง่ายและรวดเร็ว ดังนี้
Advertisement
1. ขั้นตอนการเตรียมผนัง หากเป็นผนังเก่าให้สำรวจสภาพผนังว่ามีรอยแตกลายงา สีลอกหลุดล่อน หรือมีคราบเชื้อราตะไคร่น้ำหรือไม่ หากมีให้ทำการซ่อมแซมก่อน ส่วนผนังใหม่ให้ตรวจสอบความชื้นของผนังให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ก่อนลงมือทาสี
2. เลือกผลิตภัณฑ์สีน้ำอะคริลิก Nippon Paint Momento Loft สีสำหรับสร้างผนังลอฟท์ ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน มีคุณสมบัติสามารถเช็ดล้างทำความสะอาดได้ง่าย ยึดเกาะผนังได้ดี สามารถทาทับผนังสีเดิมได้ ไม่เป็นฝุ่นผง ปราศจากสารปรอทและสารตะกั่ว สารระเหยต่ำ กลิ่นอ่อน มีสีสันให้เลือกหลายเฉด ทั้ง Soft Gray, Street Gray, Shadow Gray จบงานได้ไวแต่ได้ผนังที่สวยเนียน และยังสามารถใช้งานได้หลากหลายพื้นผิว ไม่ว่าจะเป็นปูน ไม้ กระเบื้อง เป็นต้น
3. ขั้นตอนต่อมาให้ทาสีรองพื้น Nippon Paint Momento Loft Primer จำนวน 1 เที่ยว รอให้แห้งประมาณ 2 ชั่วโมง
4. ทาสีสร้างลาย Nippon Paint Momento Loft โดยใช้สปองจ์ ลอฟท์ จุ่มสีแล้วปัดขึ้นลงไปมาบนผนัง 1-2 เที่ยว แต่ละเที่ยวรอให้แห้ง 20-30 นาที หากผนังมีขนาดใหญ่หรือตึกสูง สามารถใช้ลูกกลิ้งอีพ็อกซี่ ขนสั้น (Nippon Paint Mohair Roller) สร้างลวดลายสไตล์ลอฟท์ได้ จากนั้นตกแต่งลวดลายอีกรอบให้ผนังสวยเนียนสม่ำเสมอ
5. เพิ่มความทนทานยิ่งขึ้นด้วย Nippon Paint Momento Loft Clear Coat ชนิดด้าน จำนวน 1-2 เที่ยว เพื่อให้ผนังลอฟท์สวยนานยิ่งขึ้น
วิธีทำง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก ใช้อุปกรณ์น้อย มือใหม่ก็สามารถทำเองได้ และได้คุณภาพงานที่สวยเนียน จบงานได้รวดเร็วในเวลาจำกัด และคุ้มค่าในงบประมาณที่จ่ายไป เพียงเท่านี้ก็ทำให้มีบ้านสไตล์ลอฟท์ที่เท่ทันสมัยได้
ขอบคุณที่มา : บ้านและสวน
Comentarios